บทเรียนที่ 4

บทเรียนที่ 4
1.สื่อกลางประเภทมีสาย แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
สายคู่บิดเกลียว (Twisted – PairCable)
สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เช่น สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น (
CAT5) การนำสายมาถักเป็นเกลียวเพื่อช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน
สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์และแบบมีชิลด์

  • สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP
    นิยมใช้งานมากในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์บ้านไม่มีการหุ้มฉนวนมีแต่การบิดเกลียวอย่างเดียว
    • สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted –Pair Cable :STP)
      สำหรับสาย
      STP คล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสาย UTP
    ข้อดี
      ราคาถูก
      มีน้ำหนักเบา
      ง่ายต่อการใช้งาน
    ข้อเสีย
    มีความเร็วจำกัด
    ใช้กับระยะทางสั้นๆ
    สายโคแอกเชียล (CoaxialCable)
    สายมักทำด้วยทองแดงอยู่แกนกลาง ซึ่งสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี สายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้าน
    ข้อดี
    เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
    ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
    ข้อเสีย
    มีราคาแพง
    สายมีขนาดใหญ่
    ติดตั้งยาก
    สายไฟเบอร์ออปติค(OpticalFiber)
    สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกในตัวขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็ก
    สายไฟเบอร์ออปติค แบ่งเป็น 3 ชนิด
    • Multimode step –index fiber จะสะท้อนแบบหักมุม
    • Multimode graded –index มีลักษณะคล้ายคลื่น
    • Single mode fiber เป็นแนวตรง
         
          •       
    ข้อดี
    มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
    มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
    มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
    ข้อเสีย
    เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
    มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
    การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
    2.หากนำระบบมาใช้ในองค์กรการศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่ายแบบใด
    เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
    เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสายเป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวเรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
    ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/50887

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น